Blockchain คืออะไร มีส่วนสำคัญยังไงกับระบบการเงินของอนาคต บล็อกเชน ถ้าแปลแบบตรงๆ บล็อก (Block) คือ การเก็บข้อมูลแบบนึงที่เก็บเป็นส่วนๆ และนำมาร้อยต่อกันเรื่อยๆ เหมือนโซ่คล้องกัน (Chain) โดยมีวิธีเข้ารหัสทางคอมพิวเตอร์เพื่อความปลอดภัย ที่ทำให้รู้ว่าข้อมูลถูกเก็บ ณ เวลาใด มีการแก้ไขหรือเปล่า โดยข้อมูลทั้งหมดจะส่งและกระจายเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ในเครือข่าย
บล็อกเชน เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูล (Data structure) แบบหนึ่ง ที่ทำให้ข้อมูล Digital transaction ของแต่ละคนสามารถแชร์ไปยังทุกๆ คนได้ เป็นเสมือนห่วงโซ่ (Chain) ที่ทำให้ block ของข้อมูลลิ้งก์ต่อไปยังทุกๆ คนเป็น โดยที่ทราบว่าใครที่เป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลนั้นจริงๆ เมื่อบล็อกของข้อมูลได้ถูกบันทึกไว้ในบล็อกเชน มันจะเป็นเรื่องยากมากๆ ที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลง เวลาที่มีใครต้องการจะเพิ่มข้อมูล ทุกๆ คนในเครือข่ายซึ่งล้วนแต่มีสำเนาของบล็อกเชน สามารถรัน Algorithm เพื่อตรวจสอบ Transaction โดย Transaction ใหม่นี้จะได้รับอนุญาต ต่อเมื่อในเครือข่ายส่วนใหญ่เห็นด้วยว่ามันถูกต้อง
Blockchain คืออะไร ทำไมถึงพัฒนาไปอีกได้ไกล
1. Blockchain ปลอดภัย ตรวจสอบได้ ไม่ต้องผ่านตัวกลาง
Blockchain เป็นบัญชีดิจิทัลแบบแยกประเภท (Digital ledger) ของการทำธุรกรรมที่กระจายทั่วทั้งเครือข่าย โดยจะมี Block คอยเก็บข้อมูลต่าง ๆ เป็นส่วน ๆ รวมถึงจำนวนธุรกรรมที่เกิดขึ้น แต่ละ Block จะเชื่อมต่อกันเหมือนโซ่คล้องกันหรือ Chain ซึ่งจะมีการเข้ารหัสทางคอมพิวเตอร์เพื่อความปลอดภัย ทุกครั้งที่มีธุรกรรมใหม่เกิดขึ้นบน Blockchain จะมีการบันทึกธุรกรรมนั้น และเพิ่มลงในบัญชีแยกประเภทของผู้เข้าร่วมทุก ๆ คน
ข้อมูลของทุกคนในเครือข่ายจะต้องถูกต้องและตรงกันกับของสมาชิกคนอื่น ๆ ในเครือข่าย ทุกธุรกรรมจะถูกเก็บบันทึกทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงสามารถดำเนินการตรวจสอบได้ นอกจากนี้ Blockchain ช่วยให้การทำธุรกรรมระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคนไม่ต้องผ่านตัวกลาง ทำให้การดำเนินธุรกรรมเป็นไปอย่างรวดเร็ว และ Blockchain ยังมีความปลอดภัยอย่างมากเพราะธุรกรรมแต่ละรายการจะได้รับการตรวจสอบภายในเครือข่ายโดยใช้การเข้ารหัสที่ซับซ้อน
2. Blockchain ไปได้ดีอย่างยิ่งกับ IoT
Internet of Things (IoT) คือการที่อุปกรณ์ วัตถุ พาหนะ หรือสิ่งของเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่สามารถส่งข้อมูลและเชื่อมต่อถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต เราสามารถควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้เลย โดยที่เราไม่ต้องป้อนข้อมูล ซึ่งในปี 2020 ร้อยละ 20% ของเทคโนโลยี IoT มีบริการที่เปิดใช้งานบนระบบ Blockchain แล้ว
เพราะการนำ Blockchain มาใช้ จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลของอุปกรณ์ และเนื่องจากทุกวันนี้เรามีอุปกรณ์ IoT เพิ่มมากขึ้น Blockchain จึงเข้ามาตอบโจทย์ด้วยการลดความยุ่งยากในการจัดการข้อมูลโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง ซึ่งทำให้ลดขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สามารถสื่อสาร และเชื่อมต่อกันได้ง่ายขึ้น
Juniper Research มีการประมาณการไว้ว่าภายในปี 2022 จะมีอุปกรณ์มากกว่า 5 หมื่นล้านชิ้นที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบ IoT โดยปัจจุบันมีบริษัททางด้านไอทีจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น IBM Alphabet และ Microsoft หรือบริษัทสตาร์อัพอื่น ๆ กำลังพัฒนาการใช้งานระบบ Blockchain ให้เข้ากับ IoT ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานและโอกาสทางธุรกิจ
3. มีการลงทะเบียนใน Blockchain wallet แล้วกว่า 70 ล้านบัญชี
Blockchain wallet หรือกระเป๋าเงิน Blockchain เป็นกระเป๋าเงินดิจิทัลที่ให้คุณจัดเก็บและจัดการธุรกรรมสกุลเงินดิจิทัลของคุณ ซึ่งตามสถิติในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 มี Blockchain wallet ที่เกิดขึ้นเพียง 10.98 ล้านบัญชีเท่านั้น และเมื่อถึงปี 2021 พบว่ามี Blockchain wallet แล้วกว่า 70 ล้านบัญชี สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้คนให้ความสำคัญกับ Blockchain อย่างมาก
4. Blockchain สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านบริการทางการเงินหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
การศึกษาของ Santander FinTech ชี้ให้เห็นว่าบัญชีแยกประเภทของ Blockchain สามารถลดต้นทุนของบริการด้านการเงินได้ 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถึง 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าในอนาคตจะสามารถลดต้นทุนด้านไอทีลงอย่างมากและอาจเลิกใช้ระบบเดิม นอกจากนี้ ต้นทุนการทำธุรกรรม Blockchain ยังต่ำมากอีกด้วย เช่น ค่าธรรมเนียมการโอน 849,999.99939168 Ether (ซึ่งเท่ากับ 1,129,879,499.19 ดอลลาร์สหรัฐฯ ) จะอยู่ที่ 0.19 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น แต่เมื่อเทียบกับค่าธรรมเนียมของการทำธุรกรรมบัตรเครดิตจะคิดโดยเฉลี่ยถึง 1.3% – 1.5% ของค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม
5. 86% ของทีมผู้บริหารเชื่อในศักยภาพของเทคโนโลยี Blockchain
จากการสำรวจ Global Blockchain Survey ประจำปี 2020 ของบริษัท Deloitte พบว่า 86% ของทีมที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีระบุถึงความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าในศักยภาพของ Blockchain กับการใช้งานด้านธุรกิจ โดยมากกว่าครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามเรื่องการจัดลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ ได้ให้ Blockchain อยู่ใน 5 อันดับแรกในองค์กรของพวกเขาสำหรับปี 2020-2021 อีกทั้งผู้บริหารจำนวน 88% เชื่อว่า Blockchain สามารถขยายตัวได้สูงและสามารถนำมาใช้ในกระแสหลักได้
ไฮไลท์ที่โดดเด่นที่สุดของ Blockchain คือการถ่ายโอนข้อมูลอย่างปลอดภัย นอกจากนี้ยังรับรองการเข้าถึงข้อมูลและธุรกรรมโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง Blockchain จึงกำลังค่อย ๆ เคลื่อนออกจากเงามืดของแอปพลิเคชันสกุลเงินดิจิทัล แล้วเข้าสู่อุตสาหกรรมด้านอื่น ๆ ซึ่งเทคโนโลยี Blockchain จะช่วยเพิ่มความยั่งยืนของธุรกิจได้ นอกจากนี้ หากคุณมีความเชี่ยวชาญด้าน Blockchain ยังสามารถเพิ่มโอกาสสู่สายอาชีพใหม่ ๆ ได้อีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยี Blockchain เพื่อรู้ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและใช้ประโยชน์จากมัน